no need to make sense.

แล้วจะรู้ว่าดนตรีคลาสสิกไม่ได้มีแค่ Mozart กับ Beethoven

ไป Singapore ครั้งนี้ Exclusive สุด ๆ เพราะมีนักดนตรีคลาสสิก ชาวไทยพาเที่ยวแถมเป่าทรัมเป็ตเพลงของ Stravinskyให้ฟังชนิดที่ว่าเพลง house จังหวะย่ำ 4 ท่อนที่ว่าบีบคั้นยังต้องหลบให้ Firebird ของ Igor Stravinsky เลยทีเดียว

กับ… เลิศเกียรติ จงจิรจิต หรือ ‘พี่เผือก’

 

เลิศเกียรติ จงจิรจิต

 

พี่เผือกเป็นรุ่นพี่ของคุณจุมในวงดุริยางค์อัสสัมชัญ เกดก็เลยสนิทกับพี่เผือกไปด้วย สำหรับพี่เผือกแล้ว ในวงการเพลงคลาสสิกบ้านเรา คงไม่มีใครไม่รู้จักชื่อ ‘เลิศเกียรติ’  ด้วยประสบการณ์ทั้งการเล่นดนตรีในวง orchestra ที่คนไทยคุ้นเคยอย่าง Bangkok Symphony Orchestra (BSO) ตำแหน่ง Principal Trumpet มากว่า 20 ปีรวมทั้งเคยเป็นอาจารย์ประจำคณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร  

จนเมื่อปี 2014 พี่เผือกตัดสินใจเซ็นต์สัญญากับวง Singapore Symphony Orchestra (SSO) เพื่อไปเล่นทรัมเป็ต พี่เผือกเลยต้องไปใช้ชีวิตอยู่สิงค์โปรตั้งแต่นั้นมา ถือว่าพี่เผือกเป็นคนไทยคนแรกที่ไป อยู่วง Orchestra มืออาชีพแบบเต็มรูปแบบของต่างประเทศ

 

จะว่าไป….ถ้าไม่ใช่เพราะพี่เผือก ก็ไม่มีเหตุผลอะไรที่จะต้องมาสิงค์โปรเลยนะ

ตอนไปดูพี่เผือกเล่น Firebird ของ Stravinsky ที่ Singapore ปี 2017 เล่นเสร็จปุ๊บต้องขอถ่ายรูปเก็บไว้เป็นที่ระลึก

 

คอนเสิร์ต Firebird ที่ Singapore มี Charles Dutoit มา conduct 

 

อะไรทำให้ตัดสินใจไปอยู่ SSO ?

พี่เผือก: หลักๆเลยเป็นเพราะผิดหวังกับวงการดนตรีเมืองไทย…หลังจากทำงานแบบอาชีพมา ตั้งแต่ ปี 1994  มันเป็นเวลาที่นานมากซึ่งมันควรจะมีอะไรดีขึ้นมากกว่านี้ แต่มันไม่ได้ดีขึ้นอย่างที่เราหวัง อาจจะเป็นเพราะเราใจร้อนรึเปล่า ไม่แน่ใจ แต่มันคือความรู้สึก ณ ตอนนั้น คือ ผิดหวังกับวงการดนตรี ผิดหวังกับเพื่อนร่วมงานที่มี Attitude ที่ไม่ตรงกับเรา ไม่ได้บอกว่าเค้าเลวหรือดีกว่า คือเราอยากให้มันดี เค้าก็อยากให้มันดีในแบบของเค้า แต่วิธีของเค้าอาจจะใช้เวลาถึง 3 Generation ถึงจะดี เราก็เลยแยกทางกัน เหมือนเลิกกันแล้วก็คบคนใหม่ ซึ่ง SSO ก็จีบพี่มาสักพักแล้ว ก็เลยตอบตกลงเค้าไปใน season นั้นเลยทันที อีกหนึ่งเหตุผลคือ มันเป็นงานชิ้นเดียวที่ทำแล้วได้เงินเดือนก้อนเดียว แล้วสามารถใช้ชีวิตอยู่ได้เลย โดยที่ไม่ต้องทำงานอีก 5 อย่างเหมือนในประเทศไทยถึงจะอยู่ได้ แถมต้องอยู่กันแบบลำบาก

พอไปอยู่วง SSO แล้วมีอะไรบ้างที่ต่างจากวง Orchestra ในบ้านเรา

พี่เผือก: ต่างกันมาก ชนิดที่ว่าเอามาเปรียบเทียบกันไม่ได้เลย อย่างแรกเลยคือเรื่อง Management ที่นี่เค้าอำนวยความสะดวกให้กับนักดนตรีมากและทำทุกอย่างเพื่อให้นักดนตรีสบายที่สุดโดยที่นักดนตรีไม่ต้องร้องขออะไรเลย เช่น เรื่องเก้าอี้บนเวที เพราะด้วยสรีระของนักดนตรีบางคนที่สูงมาก อ้วนมาก หรือเตี้ยมาก เค้าก็จะจำว่านักดนตรีคนไหนใช้เก้าอีแบบไหนขนาดเท่าไหร่ เรียกว่าทำทุกอย่างเพื่อให้นักดนตรีสามารถเล่นคอนเสิร์ตให้ออกมาดีที่สุด หรืออย่างเรื่องตารางซ้อม เค้าก็จะคอยถาม conductor ทุกวีคว่าจะซ้อมเพลงอะไรเพื่อให้นักดนตรีที่ไม่ได้เล่นในเพลงนั้นไม่ต้องมารอ เค้าจะได้แพลนชีวิตเค้าได้ถูก ไม่เหมือนวง orchestra บ้านเราบางวง… ขนาดอีก 5 วันจะซ้อมครั้งแรก ยังต้องไปทวงโน๊ต พอไปทวงกลายเป็นว่าเราเรื่องมาก งงนะ ส่วนเรื่องนักดนตรีนั้น เราอาจจะด้อยกว่าเค้าแต่เรามี potential ที่จะดีขึ้นได้

 

เสน่ห์ของเพลงคลาสสิกคืออะไร?

พี่เผือก: โห ดนตรีคลาสสิกมันคือดนตรีที่อยู่ยงคงกระพัน อยู่ได้มานาน อยู่ได้ด้วยตัวเองเพราะความดีของมัน ขอตอบให้แคบลงมาหน่อยแล้วกัน เพลงคลาสสิกแบบวง Orchestra มันมีพลังที่สามารถทำให้จิตใจเรา Move ได้ สามารถทำให้เราเกิดความรู้สึกทุกอย่าง ทั้ง รัก โลภ โกรธ หลง คึก นี่แหละคือเสน่ห์ของมัน

 

พี่เผือกโตมากับเพลงอะไร ?

พี่เผือก: ทุกเพลงที่มีเสียงทรัมเป็ต หรือ soundtrack ที่มีทรัมเป็ต เช่น Star wars Superman ET พวก soundtrack Indiana Jones ที่ John Williams แต่ง พอโตขึ้นไปอีกก็ขยับไปฟังเพลงคลาสสิกที่มี ทรัมเป็ต กับวง orchestra พอจบมหาลัย major composition ก็ไปเรียนต่อ major trumpet ที่ Hong kong ช่วงนั้นก็จะฟังเพลงที่เป็น Solo Trumpet เยอะมากๆๆๆเพราะต้องเรียน

 

คอนเสิร์ตครั้งไหนที่ทำให้ลืมไม่ลง?

พี่เผือก: จริงๆมีหลายอัน แต่ที่เลือกมาคือเด็ดๆทั้งนั้น…

  • Charles Dutoit เพลง Mahler Symphony No.1 ปี 2009 ที่เมืองจีน
  • Mahler Symphony No.2 กับวง Nagoya Philharmonic Orchestra
  • Sibelius Symphony No.5 กับวง BSO conduct โดย John Georgiadis
  • Rachmaninov Symphony No.2 กับวง BSO conduct โดย John Georgiadis 
  • Romeo and Juliet ของ Prokofiev กับวง BSO conduct โดย Hikotaro Yazaki
  • คอนเสิร์ตที่ Yo-Yo Ma แสดงร่วมกับ SSO  
  • คอนเสิร์ตล่าสุดที่ Charles Dutoit conduct กับวง SSO ​

 

*Charles Dutoit กับพี่เผือกตอนซ้อมเพลง Firebird

 

พี่เผือก กับ Yo-Yo Ma นักเชลโล่ระดับโลก

 

ความสัมพันธ์ระหว่างพี่กับทรัมเป็ตของพี่ตอนนี้มันเป็นยังไง?

พี่เผือก : เมื่อก่อนรักทรัมเป็ตนะ เพราะมันเป็นสิ่งที่เรารัก แต่ตอนนี้ ทรัมเป็ตมันเป็นการเป็นงานมาก เป็น duty อาจจะเป็นเพราะมาทำงานที่ SSO ก็ได้ แต่ก็ไม่100% เพราะบางทีก็รักทรัมเป็ตมากอย่างเช่นเวลาเล่น Solo ซึ่งมีไปเล่นที่ญี่ปุ่นทุกปี และมีจัด Trumpet Festival ที่เมืองไทยทุกปีก็จะได้เล่นเพลงที่อยากเล่น เวลาเหล่านั้นก็จะรักทรัมเป็ตมากเป็นพิเศษ

 

ที่พี่เผือกบอกว่ามีเล่นคอนเสิร์ตที่ญี่ปุ่น ปีนี้ก็มีอีก

 

ถ้าสามารถเจอ composer คนไหนก็ได้ในโลกที่ยังมีชีวิตหรือไม่มีชีวิต พี่เผือกอยากเจอใคร?

พี่เผือก:  คงเป็น Stravinsky นะ อยากรู้ว่าสิ่งที่เรียนมาว่า Stravinsky มี 4 ช่วงชีวิตเนี่ยมันเป็นยังไง ทั้งช่วงที่แต่งเพลงเหมือนคนอื่น ช่วงที่ 2 คือช่วงที่แต่ง Rite of spring หรืออย่าง Firebird หรือ Petrushka ช่วงที่ 3 คือ Neo Classic แล้วก็ช่วงที่ 4 ช่วงที่เหมือน Schoenberg คือมี Twelve Tone อยากรู้ว่าถ้าย่อ 4 ช่วงนี้ของเค้าให้เหลือ 1 อาทิตย์ของเรามันจะเป็นยังไง ซึ่งคงไม่มีอะไรจะถามคนระดับนี้นะ แต่อยากเห็นมากกว่า ถ้าเป็นนักดนตรีก็อยากเจอนักดนตรีที่ complete ที่สุดคือ Bernstein เพราะเป็นทั้งนักเปียโนที่เก่งมาก เป็น conductor ที่เก่งมาก แล้วก็เป็น composer ที่เก่งมาก คิดว่า Bernstein คือที่สุดของนักดนตรีในโลกนี้แล้วล่ะ

 

Igor Stravinsky 

 

Leonard Bernstein 

 

สิ่งที่ยากที่สุดในการเป่าทรัมเป็ตคืออะไร?

พี่เผือก: มี 2 อย่าง  คือการเป่าให้เบามากๆ อีกอย่างคือความมั่นใจในการเป่า บางครั้งที่เค้าเรียกว่า naked solo คือการเป่าแบบคนเดียวเช่น Mahler เบอร์ 5 ที่อยู่ดีๆก็มีเสียงทรัมเป็ตขึ้นมาคนเดียว หรือเพลงพวก Olympic ที่ทรัมเป็ตเล่นคนเดียวแบบวงไม่ได้เล่นเลย มันไม่ได้ยากที่เป่า แต่มันยากที่จิตใจ คือใจเราต้องแข็งแรง ต้องสามารถต้านทานกับแรงกดดัน ส่วนเรื่อง Physical นี่ไม่ยากเลย เห็นมาเยอะนะ อย่างนักทรัมเป็ตเด็กๆที่แข็งแรงชนิดที่ว่าเอารองเท้าตีปากแล้วเลือดไม่ออกเนี่ย  พอให้มาเล่นเดี่ยวๆนี่เจ๊งเลย เหมือนคนเล่นไม่เป็นเลย

“อยู่เป็นกบในกะลาแล้วชอบคิดว่าตัวเองทำถูก โดยคิดว่ามี  Youtube เป็น reference เนี่ย คิดผิดนะ คิดผิดมาก” เลิศเกียรติ จงจิรจิต

 

พี่เผือกว่าต่อไปจะมีคนไทยฟังเพลงคลาสสิกมากขึ้นหรือน้อยลง?

พี่เผือก: คิดว่าน้อยลง เพราะประเทศเราไม่ได้สนับสนุนให้คนฟังเพลงแนวนี้ซึ่งมันมีวิธีที่ทำให้คนหันมาสนใจเพลงคลาสสิกหรือศิลปะประเภทนี้ได้ แน่นอนว่ารัฐต้องเข้ามาสนับสนุน เหมือนสวนสาธารณะที่เป็นปอดของเมือง ไม่มีใครเก็บเงินค่าเข้าสวนสาธารณะ  วง orchestra ก็เหมือนกัน สวนสาธารณะมันดีกับสุขภาพคนยังไง ศิลปะมันก็ดีต่อจิดใจของคนอย่างนั้น

 

เหงามั้ยอยู่สิงค์โปรคนเดียว?

พี่เผือก: เหงา…อยู่ตัวคนเดียว เพื่อนสนิทก็อยู่ประเทศไทย แล้วชีวิตเราก็ไม่ได้มีแค่ดนตรี จำได้ว่ามีครั้งนึง เพื่อนจัดงาน surprise วันเกิดให้เพื่อนสนิทในกลุ่ม แล้วเราไม่ได้อยู่ด้วยแต่เห็นจากรูปใน facebook… มันก็รู้สึกคิดถึง 

ถ้าพี่เผือกไม่ต้องเล่นคอนเสิรต์ ชอบทำอะไร?

พี่เผือก: ถ่ายรูปกับท่องเที่ยว

ig: @lertkiatography

 

ig: lertkiatography

พ่อบ้านไลก้า

 

ig: lertkiatography

 

ใครจะไปสิงค์โปรสามารถแวะไปดูคอนเสิร์ตวง SSO ได้นะคะรับรองไม่ผิดหวัง

สุดท้ายพี่เผือกฝากบอกนักดนตรีคลาสสิกและนักเรียนดนตรีคลาสสิกบ้านเราทุกคนด้วยว่า

ALL THE BEST !

 

 

No need to make sense 

 

LK 🙂

Comments

0

YOU MIGHT ALSO LIKE

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

YOHARA JIRADA

YOHARA JIRADA

Because my love of doing something or someone doesn't always need to make sense..